6 เคล็ดลับวิธีการใช้แอร์
จากสภาพอากาศของประเทศไทยที่ร้อนจัดเพิ่มขึ้นทุกปี เรามีเคล็ดลับดีๆ ในการใช้งานเครื่องปรับอากาศอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้แอร์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าไฟฟ้า และดูแลรักษาให้อยู่ทนนาน โดยมีข้อควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ
การเลือกขนาด BTU ให้เหมาะสมกับห้อง
การเลือกขนาด BTU ของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่จะติดตั้งนั้นเป็นสิ่งสำคัญนะคะ เพราะนอกจากจะทำให้ได้ความเย็นที่เหมาะสม, ยืดอายุการใช้งานของเครื่องปรับอากาศให้ยาวนานแล้ว ยังช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย หาก BTU ที่เลือกไม่เหมาะสมกับห้อง อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ค่ะ ในกรณีที่ BTU ที่สูงเกินไป คอมเพรสเซอร์ จะตัดและต่อการทำงานบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลงและทำให้ความชื้นภายในห้องสูง ไม่สบายตัว และสิ้นเปลืองพลังงาน ในกรณีที่ BTU ที่น้อยเกินไป คอมเพรสเซอร์ จะทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นภายในห้องไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ หรือใช้เวลานานกว่าที่แอร์จะสามารถทำให้อุณหภูมิในห้องๆ นั้นถึงจุดองศาที่ ตั้งไว้ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน และทำให้แอร์ของเราเสียเร็วขึ้นค่ะ โดยเริ่มแรกนั้น เราจำเป็นต้องรู้ขนาดของห้องกันก่อน เมื่อกะระยะของห้องได้แล้ว สิ่งต่อมาที่ต้องพิจารณาคือ “ตัวแปรความร้อน” ค่ะ จำนวนและขนาดของหน้าต่างหรือกระจก ทิศของแดดส่องหรือตำแหน่งที่ตั้งของห้อง ความสูงของเพดานและวัสดุหลังคามีฝ้าหรือมีฉนวนกันความร้อนหรือไม่ จำนวนของคนที่ใช้งานภายในห้อง จำนวนและประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำให้เกิดความร้อนภายในห้อง เช่น ตู้เย็น คอมพิวเตอร์ เป็นต้น จากนั้นจึงมาเข้าสูตรคำนวณหา BTU…
BTU คืออะไร?
BTU นั้นหลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ่อยๆ เกี่ยวกับแอร์ แต่บางคนก็อาจจะยังสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมารู้จัก BTU กันซะหน่อยนะครับ BTU ย่อมาจาก “British Thermal Unit” เป็นหน่วยที่ใช้ปริมาณความร้อนที่ใช้ในระบบเครื่องเย็นและเครื่องปรับอากาศ โดยความร้อน 1 BTU คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์ (0.45 กิโลกรัม) มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ (0.56 องศาเซลเซียส) หน่วยที่นิยมใช้สำหรับหาปริมาณความร้อนของระบบเครื่องทำความเย็นนั้นคือ ตัน (TON) คำว่า “1 ตันความเย็น” นั้นหมายถึง ปริมาณความร้อนที่ใช้ในการละลายน้ำแข็ง 1 ตัน (2,000 ปอนด์) ในเวลา 24 ชม. หรือเท่ากับ 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง…
มารู้จักแอร์กันสักนิด!
เครื่องปรับอากาศขนาดเล็กที่ใช้ติดตั้งในบ้านพักอาศัยและสำนักงานทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วเป็นแอร์ที่ใช้น้ำยาในการทำความเย็นค่ะ โดยสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะการติดตั้งได้ เช่น แบบติดตั้งผนัง (Wall Type) แบบแขวนใต้ฝ้า/ แบบตั้งได้แขวนได้ (Ceiling Exposed Type/ Convertible Type) แบบฝังในฝ้าลม 4 ทิศทาง (Cassette Type) แบบเปลือยซ่อนในฝ้า/ แบบต่อท่อลม (Ceiling Conceal Type/ Duct Type) แบบตู้ตั้ง (Floor Standing Type)
แอร์ทำงานอย่างไร?
การทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศโดยทั่วไปต้องอาศัยสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ที่ไหลอยู่ในระบบท่อปิด โดยมีอุปกรณ์อย่างง่าย ดังต่อไปนี้ค่ะ 1. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) – เป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มความดันและอุณหภูมิแก่สารทำความเย็น เปรียบเสมือนหัวใจของร่างกายคนเรา 2. คอนเดนเซอร์ (Condenser) – เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แลกเปลี่ยนความร้อนของสารทำความเย็นและอากาศภายนอก 3. วาล์วลดความดัน (Expansion Valve) – เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ลดความดันฉับพลันเพื่อให้สารทำความเย็นขยายตัว 4. อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator) – เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แลกเปลี่ยนความร้อนของสารทำความเย็นและอากาศภายในบริเวณที่ต้องการทำความเย็น หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ เริ่มต้นจากคอมเพรสเซอร์ซึ่งทำหน้าที่เพิ่มความดันให้แก่น้ำยาซึ่งเป็นแก็ส ให้มีความ ดันและอุณหภูมิสูงขึ้น (สูงกว่าอากาศภายนอก) แล้วระบายทิ้งที่แผงท่อระบายความร้อน (คอยล์ร้อนหรือคอนเดนเซอร์) ซึ่งติดตั้งอยู่ภายนอกห้อง โดยมีพัดลมทำหน้าที่เป่าระบายความร้อนที่แผงระบายความร้อนนี้ น้ำยาภายหลังผ่านคอล์ยร้อนจะมีสถานะเป็นของเหลว มีความดันสูง จะไหลผ่านเข้า ชุดลดความดัน (Expansion Valve) ก่อนจะไหลเข้าไปยังแผงท่อทำความเย็น (คอยล์เย็นหรือแฟนคอยล์) ซึ่งติดตั้งอยู่ภายในห้อง สารทำความเย็นจะดูดความร้อนจากอากาศบริเวณโดยรอบของแผงท่อทำความเย็น ทำให้อากาศที่ไหลผ่านมีอุณหภูมิต่ำลง และถูกส่งผ่านลมเย็นโดยพัดลมที่ติดตั้งอยู่ที่แผงทำความเย็นนี้…